อธิบดีกรมบัญชีกลางคนใหม่ เร่งเบิกจ่าย 3.1 ล้านล้านบาท ฟื้นเศรษฐกิจ

0 Comments

ในภาวะที่เศรษฐกิจป่วยจากพิษโควิด-19 นานกว่า 2 ปี เม็ดเงินจากภาครัฐจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะเข้ามาหล่อเลี้ยงและพยุงเศรษฐกิจไทย ซึ่งในฐานะที่เข้ามากุมบังเหียนหน่วยงานที่คุมการใช้จ่ายเม็ดเงินภาครัฐ “ดร.กุลยา ตันติเตมิท” อธิบดีกรมบัญชีกลางคนใหม่ ที่เข้ามารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2564 ที่ผ่านมา ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงแนวนโยบายที่จะผลักดันต่อไปหลังจากนี้

เร่งเบิกจ่าย 3.1 ล้านล้าน
โดย “ดร.กุลยา” เปิดเผยว่า ขณะนี้มีโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเข้ามา ทำให้สถานการณ์ไม่แน่นอนมากขึ้น ซึ่งเม็ดเงินจากทางภาครัฐจะสำคัญมาก ฉะนั้น จะต้องมีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยตามมาตรการเร่งรัดที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบไปแล้ว แต่ละหน่วยงานต้องเตรียมแผนเร่งรัด และต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ปี 2565 ที่มีรายจ่ายรวม 3.1 ล้านล้านบาท ให้ได้อย่างน้อย 93%

แบ่งเป็น รายจ่ายประจำต้องไม่ต่ำกว่า 98% และรายจ่ายลงทุนไม่ต่ำกว่า 75% ของรายจ่ายลงทุนทั้งสิ้น 6.05 แสนล้านบาท โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนนั้น จะต้องมีความพยายามค่อนข้างมาก เพราะจากตัวเลขในอดีตสูงสุดจะทำได้เพียง 70-71%

“ดังนั้น แต่ละหน่วยงานต้องทำแผนล่วงหน้า โดยเฉพาะโครงการใหญ่ ๆ ซึ่งใช้งบประมาณเกิน 1,000 ล้านบาท ในปีนี้มีประมาณ 100 โครงการ เป็นโครงการต่อเนื่องมา มูลค่ารวมมากกว่า 2.5 ล้านล้านบาท นอกจากการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐแล้ว ในส่วนเม็ดเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ก็ต้องเบิกจ่ายไม่น้อยกว่า 95%”

ไตรมาสแรกเบิกจ่ายเข้าเป้า
ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายรายไตรมาสของปีงบประมาณ 2565 ขึ้นมา โดยไตรมาสแรก (ต.ค.-ธ.ค. 2564) กำหนดเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมให้ได้อย่างน้อย 30%, ไตรมาส 2 ตั้งเป้าเบิกจ่ายให้ได้ 21%, ไตรมาส 3 ตั้งเป้าเบิกจ่ายอีก 21% และไตรมาส 4 ตั้งเป้าเบิกจ่ายอีก 21% โดยการดำเนินขณะนี้ ในไตรมาสแรกรายจ่ายประจำสามารถเบิกจ่ายได้ 35% ถือว่าทำได้สูงกว่าเป้า ขณะที่รายจ่ายลงทุน ต้องการเห็นเบิกจ่ายได้ที่ 13% ปัจจุบันสามารถทำได้แล้ว 17% ภาพรวมอยู่ที่ 31.7%

“การกำหนดเป้าเบิกจ่าย ก็เพื่อให้หน่วยงานมีความตื่นตัว เนื่องจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และรัฐบาลจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งหน่วยงานรับทราบแล้ว ว่าหากดำเนินการไม่เสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย. 2565 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปีงบประมาณ ก็จะโดนพับไป”

จ่อเก็บค่าต๋งกันยื่นอุทธรณ์มั่ว
“ดร.กุลยา” กล่าวว่า หนึ่งในอุปสรรคที่ทำให้เบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า มาจากการอุทธรณ์การจัดซื้อจัดจ้าง ที่ทำให้โครงการไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ ต้องรอคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตัดสินออกมา เบื้องต้นก็ได้กำชับและมอบนโยบายให้เร่งรัดเรื่องการพิจารณาอุทธรณ์ แม้ขั้นตอนการดำเนินการจะกำหนดไว้อยู่แล้ว ว่าจะต้องดำเนินการภายใน 30 วัน แต่ก็ต้องเร่งในเรื่องกระบวนการการเดินเอกสารต่าง ๆ

“นอกจากนี้ บางครั้งก็มีการอุทธรณ์ แบบไม่ควรอุทธรณ์ ฉะนั้น วิธีการแก้ไข เรากำลังพิจารณาว่าจะทำอะไรที่ต้องมีต้นทุนในการอุทธรณ์ ซึ่งต้องแก้กฎหมายพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อให้มีการคิดค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ หากมีการอุทธรณ์ที่ไม่ได้เป็นเหตุ กรมจะมีการยึดค่าธรรมเนียมดังกล่าว ซึ่งอาจจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าโครงการหรือแบบอื่น ตรงนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป”

เพิ่มแต้มต่อเอสเอ็มอี
“ดร.กุลยา” กล่าวอีกว่า มีนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมากยิ่งขึ้น แม้ขณะนี้มาตรการสนับสนุนส่วนนี้อยู่แล้ว แต่อยู่ระหว่างปรับปรุงให้การดำเนินงานคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดว่า หน่วยงานภาครัฐต้องจัดซื้อจัดจ้างเอสเอ็มอีที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ไม่น้อยกว่า 30% ของการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ

ขณะเดียวกันก็กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างจากผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งหากมีเอสเอ็มอีไม่น้อยกว่า 6 ราย ก็ให้คัดเลือกเอสเอ็มอีในส่วนนั้น แต่หากมีไม่ถึง 6 ราย จึงจะมีการเปิด e-bidding หรือเสนอประมูลงานเป็นการทั่วไป และหากเปิดเป็นการทั่วไปแล้ว ถ้ามีเอสเอ็มอีเข้ามาแล้วเสนอราคามากกว่าผู้ประกอบการรายอื่น สามารถเลือกเอสเอ็มอีที่เสนอราคาสูงกว่าผู้ประกอบการรายอื่นได้ 10% จากเดิมที่ต้องเลือกรายที่ให้ราคาต่ำที่สุด

“ในทางปฏิบัติยังมีปัญหาอยู่ระดับหนึ่ง เนื่องจากการกำหนด 6 รายในพื้นที่ ก็ไม่รู้ว่ามีแต่รายเดิมหรือไม่ ซึ่งอาจไม่ได้มีการส่งเสริมการแข่งขันจริง กรมจึงอยู่ระหว่างการพิจารณา ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนอย่างไร ซึ่งขณะนี้ได้เสนอรายละเอียดให้ รมว.คลังพิจารณาไปแล้ว”

นอกจากนี้ยังมีการช่วยผู้ประกอบการเมดอินไทยแลนด์ ที่ขึ้นทะเบียนกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หากแข่งกับต่างชาติ สามารถเสนอราคาสูงกว่าผู้ประกอบการรายอื่นได้มากกว่า 3% โดยระยะต่อไปก็อาจจะมีการพัฒนาให้สามารถทำได้มากกว่านั้น เนื่องจาก ส.อ.ท.ก็อยากให้เห็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการเมดอินไทยแลนด์มากขึ้น กรมก็อยู่ระหว่างการพิจารณา

เตรียมพร้อมเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการ
อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าวด้วยว่า ในส่วนของนโยบายรัฐ กรมก็ขานรับเต็มที่ โดยส่วนที่ยังจะต้องพยุงอยู่ในช่วงนี้ ก็คือการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ซึ่งทางรัฐบาลจะทำในเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่อ โดยจะมีการเปิดลงทะเบียนรอบใหม่

“กรมได้รับนโยบายแล้ว ได้มีการเตรียมพร้อม โดยสั่งการให้คลังจังหวัดเป็นหน่วยงานในการรับลงทะเบียนกรณีผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มเปราะบาง และทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการแก่ประชาชนที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงทะเบียนดังกล่าว ทั้งนี้ หากคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการเปิดลงทะเบียนรอบใหม่ก็ดำเนินการได้ทันที” อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าว